ความเป็นมา “พระพุทธรูปอู่ทองอุดมทรัพย์” (ฮวดใช้กง)
พระพุทธรูปอู่ทองอุดมทรัพย์ จัดสร้างครั้งที่สอง รุ่น สองแผ่นดิน (ไทย-อินเดีย) วันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๑ ขนาดหน้าตัก ๓๕ นิ้ว จำนวน ๔ องค์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ถวายวัดระเบาะ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๑, จัดส่งไปวัดไทยมคธพุทธวิปัสสนา พุทธคยา ประเทศอินเดีย วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒, ถวายวัดผาสุการาม อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ และในวันเปิดอุทยานธรรมพระพุทธรูปอู่ทองอุดมทรัพย์ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๒ในพิธีเททองน้ำเดียวครั้งนี้ ได้จัดสร้างพระบูชา พระพุทธรูปอู่ทองอุดมทรัพย์ ขนาดหน้าตัก ๙ นิ้ว ตามจำนวน สั่งจอง, พระกิ่งช่อ ๙, และพระกริ่งอู่ทองอุดมทรัพย์ ขึ้นเป็นครั้งแรก
เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๒ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
พระพุทธรูปอู่ทองอุดมทรัพย์ จัดสร้างครั้งที่สี่ ด้วยเหตุวัดสันติวนาราม อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ประสงค์จัดสร้างพระพุทธรูปอู่ทองอุดมทรัพย์ ขนาดหน้าตัก ๔๙ นิ้ว พระประธานศาลาการเปรียญ โดยมอบให้อุทยานธรรมพระพุทธรูปอู่ทองอุดมทรัพย์ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ร่วมดำเนินการ และได้จัดพิธีเททองในวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๔ และได้นำประดิษฐานในวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔พระพุทธรูปอู่ทองอุดมทรัพย์ จัดสร้างครั้งที่ห้า รุ่น สร้างศาลาปฏิบัติธรรม “เรือนอู่ทองอุดมทรัพย์” โดยอุทยานธรรมพระพุทธรูปอู่ทองอุดมทรัพย์ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ขนาดหน้าตัก ๑๖ นิ้ว (โสฬส) ด้วยมีผู้ศรัทธาสั่งจองบูชานำถวาย ๕ วัด ได้แก่ ๑) วัดป่าสันติวนาราม อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น ๒) วัดป่ากิตติญานุสรณ์ อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น ๓) วัดแม่แสะ ต.ป่าแป๋ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ๔) วัดไทรงาม อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ ๕) วัดไตรรงค์วิสุทธิธรรม อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี
ในครั้งนี้ ได้จัดสร้างพระบูชาขนาดหน้าตัก ๙ นิ้ว พระพุทธรูปอู่ทองอุดมทรัพย์ ให้กับผู้สั่งจองบูชาเหมือนเช่นทุกครั้ง และจัดสร้างพระกริ่งยันต์โสฬส “อู่ทองอุดมทรัพย์” รุ่น ๑ (พระบูชาประจำรถปกป้องคุ้มภัย)ฯ ใต้ฐานเป็นยันต์โสฬสมหามงคล (ยันต์ ๑๖) ขนาดความสูงจากฐาน ๖.๕๐ ซ.ม. โดยพิธีเททองน้ำเดียว วันเสาร์ที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ และในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๕ ได้จัดทำล็อคเก๊ตพระพุทธรูปอู่ทองอุดมทรัพย์ (ฮวดใช้กง) เป็นครั้งแรก เพื่อมอบสิริบุญมงคลรับปีใหม่ ๒๕๕๖ เป็นเครื่องระลึก คิดดี พูดดี ทำความดีฯ ขนาดขอบนอกวงรี ๒.๑๐x๒.๗๐ซ.ม. ด้านหน้าเป็นรูปหิน พระพุทธรูปอู่ทองอุดมทรัพย์ พระประธาน อุทยานธรรมพระพุทธรูปอู่ทองอุดมทรัพย์ ด้านหลังเป็นรูปหินยันต์โสฬสมหามงคล (ยันต์ ๑๖) คำกล่าวบูชาเช่นเดียวกับพระกริ่งยันต์โสฬส “อู่ทองอุดมทรัพย์”
คำบูชา พระพุทธรูปอู่ทองอุดมทรัพย์ (ฮวดใช้กง)
(ตั้ง นะโม ๓ จบ)
“สิทธิ กิจจัง สิทธิ กัมมัง สิทธิ ลาโภ สิทธิ อโรโค ชโย นิจจัง.”
ขอให้สำเร็จในธุรกิจ ขอให้สำเร็จในการงานน้อยใหญ่ ขอให้ประสพลาภผล ขอให้ไม่มีโรค ตลอดกาลเป็นนิจ เทอญ.
คำบูชา พระกริ่งยันต์โสฬส “อู่ทองอุดมทรัพย์” (พระบูชาประจำรถ) หรือเหรียญอู่ทองอุดมทรัพย์
(ตั้ง นะโม ๓ จบ)
“สิทธิ กิจจัง สิทธิ กัมมัง สิทธิ ลาโภ สิทธิ อโรโค ชโย นิจจัง อิติสุคะโต อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ”
หมายเหตุ – คำกล่าวบูชา ยันต์โสฬสมหามงคล (ปกป้องคุ้มภัย) “อิติสุคะโต อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ”
เอกลักษณ์เฉพาะองค์ พระพุทธรูปอู่ทองอุดมทรัพย์:
๑) พระพุทธรูปอู่ทองอุดมทรัพย์ (ฮวดใช้กง) อธิษฐานสร้างแบบขึ้นเพื่อใช้สำหรับนั่งสมาธิเป็นพุทธานุสสติ เพื่อนําจิตให้เกิดความสงบต่อผู้เพ่งภาวนา แม้ผู้ไม่เคยภาวนา เมื่อเพ่งมองแล้วให้จิตสงบเป็นอัศจรรย์ มีพุทธลักษณะ จริงจังในสมาธิ องอาจ สง่างาม สงบเย็น มองเพ่งแล้วพบรอยยิ้ม (เสมือนมีชีวิต) มีคุณค่าในศิลปะอู่ทองที่งดงาม
๒) พระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง “พระพุทธรูปอู่ทองอุดมทรัพย์ พระพุทธรูป (เหมือน) มีชีวิต” มีพุทธลักษณะเหมือนมนุษย์ เช่น มีหัวเข่าปาน สันหน้าแข้งคม เป็นต้น
๓) ประทับนั่งบนฐานสําเภาให้ความหมาย ค้าขายบริบูรณ์ ความมั่นคง และความมีอํานาจ แด่ผู้สักการะบูชา
๔) มงคลนาม พระพุทธรูปอู่ทองอุดมทรัพย์ ให้ความหมาย แหล่งที่รวมแห่งธนสารสมบัติ และความบริบูรณ์แห่งทรัพย์ ตัวการัณย์สัญลักษณ์อุนาโลม (บน พยัญชนะ “ย”) เป็นเครื่องหมายของสวัสดิมงคล หมายถึง เชิดชูพระพุทธศาสนาสูงสุด
๕) สีองค์พระพุทธรูปอู่ทองอุดมทรัพย์ เป็นสีรมดํา สีตามพระพุทธรูปต้นแบบในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ไม่จัดทําสีทอง หรือปัดทองทั้งองค์ เพื่อให้เกิดการเพ่งมอง แล้วสังเกตเรียนรู้พุทธศิลปะอู่ทองได้อย่างชัดเจน ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงไม่ควรปิดทองที่องค์พระพุทธรูปอู่ทองอุดมทรัพย์ เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้พิจารณาชื่นชมความงดงามของศิลปะอู่ทองได้อย่างชัดเจน
๖) พระพุทธรูปอู่ทองอุดมทรัพย์ (ฮวดใช้กง) “พระบูชา” จัดสร้างตามจำนวนสั่งจอง จึงจัดเป็นพระบูชาที่หาครอบครองยาก
………………………
อุทยานธรรมพระพุทธรูปอู่ทองอุดมทรัพย์ เลขที่ ๑ หมู่ ๑ ตําบลพักทัน อําเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุุรี
สอบถามเพิ่มเติมที่ คุณพุฒิเศรษฐ์ จงสกุล มือถือ ๐๘–๑๔๒๔ ๕๑๘๗